ยินดีต้อนรับเข้าสู่ Blogger นายวิษณุ พลดอน รหัส 554144128 คอมพิวเตอร์ศึกษาปี2 หมู่2

วันเสาร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2556

วันพุธที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2556
วิธีระบบ
วิธีระบบ ( System Approach)
ระบบ คือ ภาพส่วนรวมของโครงสร้างหรือของขบวนการอย่างหนึ่งที่มีการจัดระเบียบความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ ที่รวมกันอยู่ในโครงการหรือขบวนการนั้น



ระบบ
เป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทีใช้ในการวางแผนและดำเนินการต่าง ๆเพื่อให้บรรลุผลตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ วิธีการระบบมีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการ คือ
     1. ข้อมูลวัตถุดิบ ( Input )
     2. กระบวนการ ( Process)
     3. ผลผลิต ( Output )
     4. การตรวจผลย้อนกลับ ( Feedback)
    องค์ประกอบทั้ง 4 ส่วนนี้ จะมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน ดังภาพ







วิธีการระบบที่ดี จะต้องเป็นการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้อย่างประหยัดและเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ถ้าระบบใดมีผลผลิตทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพมากกว่าข้อมูล วัตถุดิบที่ป้อนเข้าไป ก็ถือได้ว่าเป็นระบบที่มีคุณภาพ ในทางตรงข้ามถ้าระบบมีผลผลิตที่ต่ำกว่าข้อมูลวัตถุดิบที่ไปใช้ ก็ถือว่าระบบนั้นมีประสิทธิภาพต่ำ

ลักษณะสำคัญของวิธีระบบ

     1. เป็นการทำงานร่วมกันเป็นคณะของบุคคลที่เกี่ยวข้องในระบบนั้น ๆ
     2. เป็นการแก้ปัญหาโดยการใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์
     3. เป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างเหมาะสม
     4. เป็นการแก้ปัญหาใหญ่ โดยแบ่งออกเป็นปัญหาย่อย ๆ เพื่อสะดวกในการแก้ปัญหาอันจะเป็นผลให้แก้ปัญหาใหญ่ได้สำเร็จ
     5. มุ่งใช้การทดลองให้เห็นจริง
     6. เลือกแก้ปัญหาที่พอจะแก้ไขได้และเป็นปัญหาเร่งด่วนก่อน

องค์ประกอบของระบบ

 ไม่ว่าจะเป็นระบบใดก็ตาม จะประกอบด้วย 3 ส่วนคือ





     1. สิ่งที่ป้อนเข้าไป ( Input ) หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในกระบวนการหรือโครงการต่างๆ เช่น  ในระบบการเรียนการสอนในชั้นเรียน อาจได้แก่ ครู นักเรียน ชั้นเรียน หลักสูตร ตารางสอน วิธีการสอน เป็นต้น ถ้าในเรื่องระบบหายใจ อาจได้แก่ จมูก ปอด กระบังลมอากาศ เป็นต้น
     2. กระบวนการหรือการดำเนินงาน ( Process) หมายถึง การนำเอาสิ่งที่ป้อนเข้าไป มาจัดกระทำให้เกิดผลบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ เช่น การสอนของครู หรือการให้นักเรียนทำกิจกรรม เป็นต้น
     3. ผลผลิต หรือการประเมินผล (Output) หมายถึง ผลที่ได้จากการกระทำในขั้นที่สอง ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน หรือผลงานของนักเรียน เป็นต้น
ผลที่ได้จากการกระทำในขั้นที่สอง การวิเคราะห์ระบบ (System Analysis) การวิเคราะห์ระบบ เป็นวิธีการนำเอาผลที่ได้ ซึ่งเรียกว่า ข้อมูลย้อนกลับ (Feed Back) จากผลผลิตหรือการประเมินผลมาพิจารณาปรับปรุงระบบให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น




การวิเคราะห์ระบบ ( System Analysis )
การกระทำหลังจากผลที่ได้ออกมาแล้วเป็นการปรับปรุงระบบการทำงานให้มีประสิทธิภาพขึ้น
ข้อมูลที่ได้จากการประเมินผลและมามาใช้แก้ไขข้อบกพร่องในส่วนต่าง ๆ
หรือ การดูข้อมูลย้อนกับ ( Feedback ) ดังนั้นการนำข้อมูลย้อนกลับมาใช้ในการวิเคราะห์ระบบ
จึงเป็นส่วนสำคัญของวิธีระบบ ( System Approach) ซึ่งจะขาดองค์ประกอบนี้ไม่ได้
มิฉะนั้นจะไม่ก่อให้เกิดการแก้ปัญหาได้ตรงเป้าหมายและการปรับปรุงที่มีประสิทธิภาพ





ขั้นตอนของการวิเคราะห์ระบบ
    1. ปัญหา (Identify Problem)
     2.จุดมุ่งหมาย (Objectives)
     3. ศึกษาข้อจำกัดต่าง ๆ (Constraints)
     4. ทางเลือก (Alternatives)
     5. การพิจารณาทางเลือกที่เหมาะสม (Selection)
     6. การทดลองปฏิบัติ (Implementation)
     7. การประเมินผล (Evaluation)
     8. การปรับปรุงแก้ไข (Modification)




ลักษณะของระบบที่ดี
ระบบที่ดีต้องสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ( efficiency)
และมีความยั่งยืน (sustainable) ต้องมีลักษณะ 4 ประการคือ
     1. มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ( interact with environment )
     2. มีจุดหมายหรือเป้าประสงค์ ( purpose)
     3. มีการรักษาสภาพตนเอง (self-regulation)
     4. มีการแก้ไขตนเอง ( self-correction )